|หน้าแรก| |เกี่ยวกับเรา| |ติดต่อทีมงาน| |แจ้งปัญหาการใช้งานแจ้งปัญหาการใช้งาน|
Login
 
!!! ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่เว็บบอร์ด www.classicamulet.com !!!

หน้าแรก » ประวัติพระเครื่อง » พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก พุทธสมาคม จังหวัดพิษณุโลก ปี 2515

ไปยังหน้า
พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก พุทธสม
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก พุทธสมาคม จังหวัดพิษณุโลก ปี 2515
 โพสต์ วันเวลา: 2014-11-04 11:27:04 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2011-05-06 00:00:00
สร้างกระทู้: 500
ตอบ: 3608

พิธี "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.๒๕๑๕

 

 

          วันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลกได้ประกอบพิธี "จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก" นับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่และจัดพิธีถูกต้องตามโบราณกาล(รายละเอียดในพิธีจะขอกล่าวในตอนท้ายของบทความ) ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกโดยสร้างพระบูชาและพระเครื่องต่างๆเข้าพิธีอย่างมากมาย แต่บทความนี้จะขอกล่าวถึงพระเครื่องที่น่าสนใจและให้บูชาในขณะนั้น( ๒๗ ธันวาคม ๒๕๑๔ ) มีดังต่อไปนี้ คือ
          ๑.พระกริ่ง "นเรศวรวังจันทน์" เนื้อนวโลหะ (สูตรของอดีตสมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทวมหาเถระ) สร้างโดยช่างสวน จามรมาน ธนบุรี






                     ราคาจอง  ๓๙๐.-บาท          หลังจอง  ๔๒๐-บาท
          ๒.พระชุด "พระพุทธชินราชน้อยไตรภาคี" ของดีเมืองพิษณุโลก เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์ หนึ่งชุดมี ๓ องค์ คือ








 


                      พระพุทธชินราช (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก)
                      พระพุทธชินสีห์  (วัดบวรนิเวศวิหาร พระนครฯ)
                      พระศรีศาสดา    (วัดบวรนิเวศวิหาร พระนครฯ)
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบองค์จริง
                                          ราคาชุดละ  ๗๕.-บาท
          ๓.พระชุด "ยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก" เนื้อนวโลหะขนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์หนึ่งชุดมี ๓ องค์คือ






                      พระพิมพ์ท่ามะปราง
                      พระพิมพ์นางพญา
                      พระพิมพ์วัดใหญ่
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า
                                         ราคาชุดละ  ๗๕.-บาท
         ๔."พระพุทธชินราชใบเสมา" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า






                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท
         ๕."พระพุทธชินราชยอดอัฐารส" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์
             ช่างสำเนียง หมัดมอญ กรุงเทพฯ เป็นผู้สร้างแม่พิมพ์เลียนแบบพระเก่า




                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท
         ๖.เหรียญ "มหาจักรพรรดิ์" เนื้อนวโลหะชนวนพระกริ่งนเศวรวังจันทน์
             นายละเมียน อัมพวะสิริ ผู้ออกแบบ






                                         ราคาองค์ละ  ๗๕.-บาท
         ๗.เหรียญ "พุทธชินราชมหาราชา" สร้างโดยกองกระษาปณ์ กรมธนารักษ์


 
โลหะพิเศษ ชุบกะไหล่ทอง


 
โลหะพิเศษ


                  ๗.๑ทองคำใหญ๋              ราคาเหรียญละ ๑,๐๐๐.-บาท
                  ๗.๒ ทองคำเล็ก              ราคาเหรียญละ     ๕๐๐.-บาท
                  ๗.๓ เหรียญเงิน               ราคาเหรียญละ ๙๙.-บาทหลังจอง ๑๐๐.-บาท
                  ๗.๔ โลหะพิเศษ              ราคาเหรียญละ ๑๐.-บาท 
 

 


 
พระราชวังจันทน์


 
กำแพงล้อมพระราชวังจันทน์




          พระราชวังจันทน์ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองพิษณุโลกบนฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นพระราชวังเมืองพิษณุโลกที่เคยเป็นที่พระราชสมภพและที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขณะดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ต่อต้านกองทัพข้าศึก(พม่า) ที่ยกทัพมาทางเหนือเพื่อจะเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาราชธานี
          นอกจากนี้พระราชวังจันทน์ยังเป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระนเศวรมหาราช


 
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


 


          พ.ศ.๒๔๗๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมจากฝั่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มาตั้งในบริเวณพระราชวังจันทน์ กระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๗๙ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระราชวังจันทน์ และในปี พ.ศ.๒๕๓๗ประกาศขอบเขตที่ดินโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวนพื้นที่ ๑๒๘ ไร่ ๒ งาน ๕๐ ตารางวา
          ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ การบูรณะพระราชวังจันทน์ และย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๔๕ และต่อมาโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมทั้งหมดได้ย้ายออกจากพระราชวังจันทน์ไปตั้งอยู่บริเวณบึงแก่งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘
           โลหะที่นำมาผสมเทหล่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ คือ
             ๑.นวโลหะเก้าอย่างคือ ทองคำ เงิน ทองแดง ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัว ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นเนื้อนวโลหะ
             ๒.แผ่นเงิน แผ่นทองที่พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศราว ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์และอธิฐานจิตปลุกเสกจนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๔
             ๓.แผ่นทองที่อาจารย์เทพ สาริกบุตร ลงอักขระ พระยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ตามสูตรสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสฺสเทวมหาเถระ)
            วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๔ พุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดพิธีเทหล่อพระกริ่งวังจันทน์ ณ พระราชวังจันทน์จังหวัดพิษณุโลก โดยมีอาจารย์เทพ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธี และในเช้าวันนั้น
             เวลา ๘.๑๙ น. ได้ประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นายกพุทธสมาคมเป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวงกล่าวบวงสรวง
             เวลา ๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลกจุดเทียนบูชาครู โดยอาจารย์เทพ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธี
             เวลา ๑๒.๐๐ น.เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตู จุดเทียนชัย พระอาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสก แผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ พร้อมทั้งนวโลหะธาตุ ๙ อย่าง ซึ่งบรรจุอยู่ในเบ้าหลอมเพื่อเทหล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์
             พระคณาจารย์ ๙ รูปที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือ
                     ๑.พระเทพโสภณ(นิยม) วัดชนะสงคราม
                     ๒.หลวงพ่อกรับ              วัดโกรกกราก
                     ๓.หลวงพ่อละมูล           วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี
                     ๔.หลวงพ่อชื่น                วัดตำหนักเหนือ จังหวัดนนทบุรี
                     ๕.หลวงพ่อลำยอง          วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
                     ๖.หลวงพ่อม้วน               วัดตลาดชุม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
                     ๗.หลวงพ่อกี๋                   วัดหูช้าง  จังหวัดนนทบุรี
                     ๘. หลวงพ่อธงชัย           วัดพุทธมงคลนิมิต  จังหวัดนครสวรรค์
                     ๙. หลวงพ่อเกตุ              วัดศรีเมือง    จังหวัดสุโขทัย
           เวลา ๑๘.๓๒ น. ฤกษ์พิธีเททองพระกริ่งพระชัยวัฒน์"นเรศวรวังจันทน์"
           ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตบแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์อยู่ในโรงงานภายในบ้านพักของนายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก เพื่อควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธี หรือกระทำการอื่นๆอันเป็นการไม่สมควร เมื่อพระกริ่งตบแต่งครบตามจำนวนแล้ว  ก้านชนวนพระกริ่งตลอดจนทองชนวนที่เหลือจากการเทหล่อพระกริ่งนเศวรวังจันทน์ ได้นำไปรีดเป็นแผ่นเพื่อปั้มเป็นเหรียญพระพุทธชินราชใบเสมา  เหรียญพระพุทธชินราชยอดอัฐารส  เหรียญจักรพรรดิ์  พระชุดชินราชน้อยไตรภาคี และพระชุดยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก แต่เนื่องจากทองชนวนพระกริ่งเนื้อแข็งมาก เมื่อปั้มออกมาเหรียญจะแตกชำรุด จึงเอาเหรียญบาทเงินรัชกาลที่ ๕ หล่อหลอมผสมทองชนวนพระกริ่งเพื่อให้เนื้อทองชนวนพระกริ่งนิ่มอ่อนลงเพื่อสะดวกต่อการปั้มเหรียญ
            เมื่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ตบแต่งครบหมดแล้วรวมทั้งพระบูชา เหรียญคุณพระและวัตถุมงคลสร้างเสร็จเรียบร้อย คณะกรรมการจึงนำวัตถุมงคลทั้งหมดมาประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ และอาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี
            ในพิธีนี้ได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศรวม ๑๐๙ รูปอาทิเช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงบุรี หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี หลวงพ่ออุตตม วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา ธนบุรี หลวงพ่อมิ่ง วัดกก ธนบุรี หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร หลวงพ่อปี้ วัดลานหอย สุโขทัย หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง บุรีรัมย์ หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม.....ฯลฯ
            พิธี"จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก"เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ยากแก่การดำเนินการ ตลอดจนการหาเจ้าพิธี ตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ดังได้กล่าวมาแล้ว ตามประวัติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พิธี"จักรพรรดิ์"ได้ประกอบพิธีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๑ และพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองในรัชกาลที่ ๙ จึงเชื่อถือได้ว่าวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้จะเปี่ยมด้วยพุทธาคุณ มีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและโชคลาภ 
            บทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ก็ขอมอบความดีนี้แด่คุณละเมียน  อัมพวะสิริ







สุพล  คีรีวิเชียร
081-0434114

 




 
 ส่งข้อความส่วนตัว
 หัวข้อกระทู้: Re: พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก พุทธสมาคม จังหวัดพิษณุโลก ปี 2515
 โพสต์ วันเวลา: 2014-11-04 11:29:37 
สถานะ:
รูปสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: 2011-05-06 00:00:00
สร้างกระทู้:500
ตอบ: 3608
พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2515 (อ่าน 13826/ตอบ 0)

 

 

พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๑๕ (แบบไตรภาคี ๓ วาระ)
วันที่ ๑๙ - ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๕

 

 

 

          พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นเป็นพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุค หลังจากงานพิธีพุทธาภิเษก ๒๕ พุทธศตวรรษ วันที่๑๒ – ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นต้นมาก็ไม่มีพิธีพุทธาภิเษกใดทำได้เสมอเหมือน เพราะเหล่าพระคณาจารย์ที่มีอยู่ในยุคนั้นทั้งหมดได้ถึงแก่มรณภาพไปกันหมดแล้ว ทั้งจะแสวงหามวลสารบริสุทธิ์ก็ยากเข้าไปทุกที ดังนั้นคงกล่าวได้ว่า พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นมหาพิธีพุทธาภิเษกแห่งยุคก็คงไม่ผิด

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายละเมียน อัมพวะสิริ นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และนายเนียม สุขแก้ว เลขาธิการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้กราบนิมนต์ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก ให้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ตามคำเสนอแนะของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร พิษณุโลก โดยการนี้ท่านพระครูศีลสารสัมบัน เริ่มต้นกดพิมพ์พระ เผาพระ และอบพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นต้นมา ครั้งนั้นได้มีการปิดอุโบสถวัดสระแก้วปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อจัดพิมพ์พระเครื่องรุ่นปี ๒๕๑๕ ทั้งหมด ๕ ชนิด/ประเภทได้แก่

  1. พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ เนื้อดินและผง หลังยันต์แก้วมณีโชติ พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่
  2. พระพิมพ์ พระพุทธชินราชใบเสมา เนื้อดินและเนื้อผง หลังธรรมจักร
  3. พระพิมพ์ พระพุทธชินราชใบมะยม เนื้อดินและผง หลังธรรมจักร
  4. พระพิมพ์ นางพญา (ชินสีห์) เนื้อดินหลังธรรมจักร
  5. พระผงมหาจักรพรรดิ พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) ทั้งหมด ๓ พิมพ์ หลังยันต์ ผสมเกศา

หมายเหตุ ในพิธีนี้ได้มีการพุทธาภิเษกมวลสารและชนวนที่เหลือเก็บไว้สร้างรุ่น พ.ศ.๒๕๑๗ – ๒๕๒๒ ด้วย

วันที่ ๑๙ – ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก พระเครื่องของท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโณ) จัดอยู่ในลำดับทำเนียบพระพุทธาภิเษก อันดับที่ ๘ – ๙ ตามประกาศพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก เรื่อง “พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก” (เฉพาะที่จัดให้บูชา) กล่าวคือ

“... ๘. “พระพุทธชินราชใบเสมา” ผสมผงของเก่าและผงตะไบเนื้อนวโลหะวังจันทน์ เลียนแบบพระเครื่องของเก่า เนื้อว่าน และเนื้อดินเผา

๙.“พระพิมพ์นางพญากรุวัดใหญ่” เนื้อดินเผาผสมผงของเก่า เลียนแบบพระเครื่องของเก่า

ลำดับ ๘ – ๙ สร้างโดย พระครูศีลสารสัมบัน วัดสระแก้วปทุมทอง พิษณุโลก… ” 

 ส่งข้อความส่วนตัว

cron
© 2008 www.classicamulet.com